ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานผักผลไม้หลากสี
2. เพิ่มธัญพืชและถั่ว ได้แก่ ข้าวกล้อง ลูกเดือย อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พิเทชิโอ ถั่วขาว ธัญพืช และถั่ว นอกจากช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้สมดุลแล้ว กากใยในธัญพืชและถั่วยังช่วยในการขับถ่าย ช่วยลดอาการท้องผูก ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. หมั่นเติมเครื่องเทศในอาหาร ได้แก่ พริก ขมิ้น กระเทียม และขิง นอกจากช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้อาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณลดการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
4. เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง และเนื้อแดง อาหารที่มีไขมันสูงจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ การบริโภคเนื้อแดงเป็นประจำส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และอาจกลายเป็นมะเร็งลำใส้ใหญ่ได้ หากต้องการโปรตีนควรรับประทานอาหารประเภทปลา
5. หลีกเลี่ยงอาหารก่อมะเร็ง
- อาหารทอด อปิ้งย่าง รมควัน โดยเฉพาะอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหรือปิ้งย่างจนไหม้เกรียม
- อาหารที่ขึ้นรา
- อาหารหมักดอง ใส่ดินประสิว เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้า ขนม หรือเนื้อแดงที่สีสดมากๆ
- อาหารสุกๆ ดิบๆ
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ควรทานจมูกข้าวสาลี ปลา เห็ดต่างๆ ที่อุดมด้วยแร่ธาตุ เช่น ซีเลเนียม
- ทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเล็กน้อย เช่น น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน
- เสริมด้วยอาหารมีมีกากใยวันละมากกว่า 35 กรัม
- ทานอาหารผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วแปบ ถั่วแขก ผักสด ผลไม้สด สาหร่าย ให้มาก
- ใช้ธัญพืชแทนอาหารแปรรูป อาหารขัดฟอกขาว
- ทานผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินให้มาก โดยเฉพาะผักที่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามน ซี และ วิตามินอี เช่น แครอท มันเทศ ปวยเล้ง มะเขือเทศ กีวี ลูกเดือย
- งดทานอาหารที่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอล เช่น น้ำมันสัตว์ เนย เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่ปลา
- งดอาหารทอด โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งลำไส้
- งดอาหารที่มีลักษณะกระตุ้น เช่น เหล้า พริก อาหารแห้งรสเผ็ดร้อน
การดูแลสุขภาพหลังการผ่าตัดลำไส้
1. หลังผ่าตัดมะเร็งลำไส้ ผู้ป่วยควรได้รับอาหารหลากหลายประเภท ไม่เลือกทาน หรือทานจำเจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันหรือโปรตีนสูง ควรเลือกทานอาหารต้านมะเร็งและผักผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่
2. หลังผ่าตัด ควรทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เช่น น้ำผลไม้สด ซุปผัก ถ้าทานวิตามินซีที่ได้จากอาหารไม่ถึง 1000 มิลลิกรัม ควรเสริมด้วยยาเม็ดวิตามินซี เพื่อให้ได้ปริมาณ 1000 มิลลิกรัม/วัน
3. การสูญเสียเลือดและสารฮอร์โมนบางชนิดถูกกระตุ้นระหว่างการผ่าตัด มักทำให้ปริมาณความเข้มข้นของโปตัสเซียมในเลือดลดลง ดังนั้นหลังการผ่าตัด ควรเสริมอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่น น้ำต้มผัก น้ำต้มผลไม้ทั้งเปลือก เป็นต้น
4. หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยมักสูญเสียเลือดไปในระดับที่ต่างกัน ดังนั้นหลังการผ่าตัด อาหารของผู้ป่วยควรมีสรรพคุณที่เสริมสร้างเม็ดเลือดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนและมีธาตุเหล็ก เช่น ไข่ไก่ ปลา น้ำแกงเป็ดต้ม นมสด ลำไย เห็ดหูหนูขาว เป็นต้น
5. หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยมักมีอาการเลี่ยนอาหาร ดังนั้นแม้จำเป็นต้องเสริมโปรตีนหลังการผ่าตัด แต่อาหารในระยะแรก ควรหลีกเลี่ยงของคาว เน้นอาหารรสจืด น้ำใส ย่อยง่ายก่อน
อาหารผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ ที่ผ่านเคมีบำบัดแล้ว
1. ผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ควรให้อาหารที่ช่วยเจริญอาหาร เช่น ซานจา ซานเย่า เห็ดหอม เป็นต้น และควรทานแต่น้อยบ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงการทานจนรู้สึกอิ่ม
2. ผู้ที่ปัญหาการทำงานของตับร่วมด้วย ควรทานผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามิน เช่น กีวี ลูกท้อ แอปเปิล องุ่น ดื่มชาเขียว น้ำผึ้ง
3. ผู้ป่วยที่ถ่ายท้อง อุจจาระปนเลือด มีไข้ตัวร้อน ขาดน้ำ ซูบผอม น้ำหนักลด ชี่เลือดพร่อง ควรบำรุงด้วยซุปอาหารยาจีน
4. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มีอาการถ่ายท้อง มีไข้ เหงื่อแตก ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากหรือดื่มน้ำซุป อาหารหลักควรเป็นโจ๊ก หมี่น้ำ และอาหารอื่นๆ ที่เป็นของเหลว
5. อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระบบย่อยควรมีหลากหลาย อย่าเน้นแต่ให้โปรตีนด้านเดียว ควรทานผักผลไม้สดที่ต้านมะเร็งได้ด้วย เช่น มะเขือเทศ ผักโขม แครอท กระเทียม ขึ้นใช่ คะน้า ส้ม ผักใบเขียวเข้มอื่นๆ เป็นต้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์จาก เห็ด ถั่ว จมูกข้าวและข้าวโอ๊ต