วัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นเบาหวานหรือไม่
1. หลังจากงดน้ำและอาหารประมาณ 8 ชั่วโมง ถ้าค่าน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2 ครั้ง แม้ว่าไม่มีอาการ หรือ เกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 1 ครั้งแต่มีอาการ ก็จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
2 . ระดับน้ำตาลในเลือด ณ เวลาใดก็ได้ ได้ค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป ร่วมกับมีอาการ เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดลง ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
คุมเบาหวาน
ดูแลสุขภาพตัวเอง สำหรับโรคเบาหวาน
- ทานให้ครบ 5 หมู่ แต่ให้ลดพลังงาน น้ำตาล และไขมัน
- เลือกทานคารโบไฮเดต ที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีทและธัญพืชไม่ขัดสี ผัก ถั่ว ผลไม้ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะย่อยช้ากว่าประเภทอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่
- ควรทานผักวันละ 3-4 ทัพพีทั้งผักสดและผักสุก โดยเฉพาะผักชนิดใบ ลดการรับประทานผักที่เป็นหัวใต้ดินหรือมีแป้งสะสมเยอะ เช่น ฟักทอง หัวแครอท
- ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ควรเลือกทานผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้ง แทนการกินขนมหวาน เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ ส้ม ชมพู่ สาลี่ กล้วยน้ำว้า(ห่าม) เป็นต้น
- เลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกะทิ เบเกอรี่ อาหารทอดต่างๆ และเนื้อสัตว์ติดหนังติดมัน เลือกประกอบอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบแทนการทอด
- แต่ละมื้ออาหารควรห่างกัน 4 – 5 ชั่วโมง ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เลี่ยงการกินจุบจิบ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือแป้งสาลีขัดสี เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลเทียมใส่เครื่องดื่มและอาหารแทนได้
- ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน และ การออกกำลังกาย
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับโรคเบาหวาน
ขนมหวาน อาหารทอด อาหารมัน น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกฮอล์ นมข้นหวาน นมรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ขนุน อ้อย ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง อบน้ำผึ้ง รวมทั้งผลไม้กระป๋อง
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง
โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณสมองตีบ ตัน ทำให้เกิดการพิการ
หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบ ตัน จะสูงมากขึ้น ในผู้เป็นเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ทำให้อวัยวะที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่อ่อนแรงลงไป เกิดอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด ผ่านพ้นภาวะอันตรายแล้ว การทำกายภาพบำบัด จะช่วยฟื้นฟูสภาพการทำงานของขาที่อ่อนแรงนั้นได้ดียิ่งขึ้น
โรคความดันโลหิตสูง พบค่อนข้างมากในจำนวนผู้เป็นเบาหวาน และเมื่อเริ่มเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
ตามมาด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตา และโรคทางสมอง ถ้าเป็นคนอ้วนก็ต้องควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก
ก็จะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติได้เช่นเดียวกัน
ปลายประสาทเสื่อม จากเบาหวาน เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือด
เพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้ รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง
โดยเฉพาะบริเวณปลายมือ ปลายเท้า จะเกิดอาการชา
เมื่อเป็นมากอาจทำให้กล้ามเนื้อลีบ เล็กลง
โรคในช่องปาก โรคในช่องปากมักมีสาเหตุจากร่างกายขาดน้ำ ทำให้ผลิตน้ำลายได้น้อย ปากแห้ง มีผลทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องปาก มีอาการเหงือกอักเสบ เกิดหินปูน ฟันผุ สำหรับวิธีการป้องกัน คือผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
โรคไตเสื่อม ไตวาย จากเบาหวาน ไต มีหลอดเลือดขนาดเล็กจำนวนมาก บริเวณไต เมื่อผนังหลอดเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาล
ในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานาน การทำหน้าที่กรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะผู้เป็นเบาหวาน
มานานกว่า10 ปี มักเกิดปัญหาไตเสื่อม
โรคตา จอประสาทตาเสื่อม และต้อกระจกจากเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในร่างกายมีมากขึ้น
ร่างกายจะขับน้ำตาลออกมาตามส่วนต่างๆ รวมถึงบริเวณเลนส์ตา
ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทตาเสื่อม
ผู้เป็นเบาหวานเริ่มมีอาการปวดตา เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว
ต้องรับการตรวจดวงตาเป็นประจำทุกปี
โรคผิวหนัง เกิดจากร่างกายขาดน้ำ ทำให้ผิวหนังแห้งและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อรา ทำให้เกิดอาการคันและ เกิดเป็นแผลตามผิวหนัง ทั้งนี้แผลที่เกิดขึ้นมักจะหายยากและเกิดการอักเสบ
ผู้เป็นเบาหวานจึงควรหมั่นดูแลรักษาผิวให้สะอาดอยู่เสมอ ทาครีม หรือโลชั่นบำรุงผิว